ไฟป่า คลื่นความร้อน อุทกภัยและภัยแล้งที่รุนแรง ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ตลอดจนพายุใต้ฝุ่น เหตุการณ์เหล่านี้เป็นสภาพอากาศรุนแรงบางส่วนที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องเผชิญในปีนี้ เนื่องจากการปล่อยของเสียและอุณหภูมิของโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงมีการคาดการณ์ว่าสภาพอากาศที่รุนแรงเหล่านี้จะยิ่งเลวร้ายลงไปอีก ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ธุรกิจต่าง ๆ ต้องเตรียมพร้อมเพื่อเอาตัวรอดจากโลกที่ร้อนขึ้น
เลขาธิการแห่งสหประชาชาติ นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรสได้ย้ำเตือนว่า การประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26) ที่ผ่านมา และรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ของเดือนสิงหาคมเป็น “สัญญาณเตือนภัยระดับสีแดงที่รุนแรงอย่างยิ่งสำหรับมนุษยชาติ” และทั้งสองสิ่งนี้เป็นปัจจัยกระตุ้นให้มีการกล่าวถึงความจำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในวาระการประชุมขององค์กรต่าง ๆ
“การดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน” Michael Salvatico หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจด้าน ESG [สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี] ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่บริษัท S&P Global Sustainable1 กล่าว “เราจำเป็นต้อง ลดคาร์บอนออกจากเศรษฐกิจโลกอย่างรวดเร็ 2015”
จากข้อมูลการวิเคราะห์โดย S&P Global Sustainbale1 ทรัพย์สินขององค์กรที่สำคัญทั่วโลก ซึ่งรวมถึงโรงงาน เครือข่ายการขนส่ง ตลอดจนสายส่งไฟฟ้า ต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากเหตุการณ์สภาพอากาศเลวร้ายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากขึ้นเรื่อย ๆ
“
เราจำเป็นต้องลดคาร์บอนออกจากเศรษฐกิจโลกอย่างรวดเร็ว จุในปี 2015ผมเริ่มต้นในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในความคิดของผมกับเรื่องสิ่งแวดล้อม
Michael Salvatico หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจด้าน ESG ในเอเชียแปซิฟิกที่บริษัท S&P Global Sustainable1
ข้อมูลของ S&P Global Trucost ยังเปิดเผยอีกว่า หากเปรียบเทียบระหว่างอุตสาหกรรม สินทรัพย์ทางกายภาพที่เป็นของอุตสาหกรรมด้านสาธารณูปโภค วัสดุ พลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค และการดูแลสุขภาพ ถือเป็นสินทรัพย์ของอุตสาหกรรมแรก ๆ ที่ต้องเผชิญภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศระหว่างปัจจุบันถึงปี 2050
ยิ่งไปกว่านั้น รายงานดังกล่าวยังพบว่า หากปล่อยปัญหานี้ไว้โดยไม่ได้รับการแก้ไข การขาดแคลนน้ำจะเป็นภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับทุกอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ก็ยังคงไม่เป็นที่สนใจของนักลงทุนมากนัก การวิเคราะห์ดังกล่าวยังชี้ให้เห็นอีกว่า ทวีปเอเชียเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด
สภาพอากาศที่รุนแรงอย่างสุดขั้วเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจทั่วทั้งเอเชีย อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะทำให้ชั่วโมงการทำงานในอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานลดลง เช่น เกษตรกรรม การก่อสร้าง และการทำเหมืองแร่ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและอุทกภัยที่รุนแรงจะ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างหนัก
เมื่อพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น น้ำ มลภาวะ ความร้อนจัด และความเสี่ยงโดยทั่วไปต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่า 99 เมืองจาก 100 เมืองที่เสี่ยงที่สุดในโลกอยู่ในทวีปเอเชีย โดยอันดับต้น ๆ ของเมืองที่กำลังจะ จมน้ก็คือ กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย
รายงานของสถาบัน McKinskey Global ที่มีชื่อว่า ความเสี่ยงและการตอบสนองต่อสภาพภูมิอากาศในทวีปเอเชีย เตือนว่าทรัพย์สินและโครงสร้างพื้นฐานอาจถูกคุกคามมากขึ้นเรื่อย ๆ จากภัยอันตรายที่เกิดจากสภาพอากาศที่รุนแรง ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2050 อุทกภัยในรอบ 100 ปีที่เกิดในกรุงโตเกียวมีโอกาสสร้างความเสียหายโดยตรงต่ออสังหาริมทรัพย์สูงถึง 13.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพื่อเตรียมการรับมือ ทาง Tokyo Metro ได้เริ่มดำเนินการป้องกันน้ำเอ่อท่วมและลดความเสียหายโดยการตรวจสอบข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่ได้มาจากอวกาศ อีกทั้งยังมีมาตรการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารอีกด้วย รัฐบาลมาเลเซียยังได้ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อรับมือกับอุทกภัยโดยการเพิ่มความจุร่องน้ำในแม่น้ำ สร้างอุโมงค์ทางหลวง และสร้างท่อส่งน้ำไปยังแหล่งกักเก็บน้ำ
เนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเพิ่มขึ้น การบรรเทาความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศและการปรับรูปแบบธุรกิจจึงมีความสำคัญมากขึ้นสำหรับบริษัท นักลงทุน และรัฐบาลทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
Sydney Gliserman รองผู้อำนวยการ Control Risks สังเกตเห็น “มุมมองที่เปลี่ยนไป” เมื่อเธอได้พูดคุยกับลูกค้าเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม เธอตั้งข้อสังเกตว่าความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศยังคงถูกมองข้ามต่อไป
“คุณไม่สามารถพูดถึงความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมโดยไม่นำไปเชื่อมโยงกับความเสี่ยงอื่น ๆ ทั้งหมดที่นับวันองค์กรต้องเผชิญมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงทางสังคม ตลอดจนวิธีที่คุณร่วมมือกับชุมชน ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมอาจกลายเป็นการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็วซึ่งสามารถก่อให้เกิดความไม่สงบในชุมชนได้ในทันที จนอาจกลายเป็นปัญหาหรือวิกฤตด้านความปลอดภัยได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน”
Salvatico กล่าวเสริมว่าผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการตระหนักถึงความเสี่ยงทางกายภาพที่เกิดขึ้นนั้นมีความสำคัญต่อบริษัทต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากขึ้น เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน เขาชี้ให้เห็นว่าสมาชิกในกลุ่มนักลงทุนเอเชียว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Asia Investor Group on Climate Change) ค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น นั่นเป็นการริเริ่มเพื่อสร้างความตระหนักรู้และสนับสนุนการดำเนินการในหมู่เจ้าของทรัพย์สินในทวีปเอเชีย
นอกจากนี้ บริษัทเกือบ 1,000 แห่งในเอเชียแปซิฟิกได้ลงนามในการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD) ซึ่งได้พัฒนาแนวทางเพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ เปิดเผยความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ รวมถึงโอกาสเสี่ยงทางกายภาพและการปล่อยคาร์บอน
“นักลงทุนเริ่มให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุน” Salvatico ตั้งข้อสังเกต “นี่ไม่ใช่มุมมองจากบริษัทเพียงบริษัทเดียว แต่ผู้ดูแลด้านเงินทุนของบริษัทต่าง ๆ ก็มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากความเสี่ยงทางกายภาพมากขึ้นเช่นกัน”
การประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26) ที่ผ่านมา ได้เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากนานาประเทศได้ให้คำมั่นที่จะจำกัดอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นไว้ที่ 1.5°C และทำข้อตกลงกับภาคการเงินให้กำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 และองค์กรต่างๆ ล้วนมีบทบาทอย่างมาก
“ความจริงก็คือ บริษัทต่าง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญในการกำจัดคาร์บอนออกจากเศรษฐกิจโลก” Rick Lord หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมเชิง ระเบียบวิธีวิจัย นวัตกรรมและการวิเคราะห์ด้าน ESG กล่าว “นักลงทุนคาดหวังมากขึ้นว่าบริษัทต่าง ๆ มุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายในการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์อย่างจริงจัง เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงทางกายภาพที่พวกเขาต้องเผชิญ ตลอดจนแสดงให้เห็นถึงแผนการทำงานที่น่าเชื่อถือเพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานและรูปแบบธุรกิจของพวกเขาจะมีความยืดหยุ่นในสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง”
แรงกระตุ้นเพิ่มเติมที่เป็นสิ่งจูงใจให้บริษัทต่าง ๆ ลดการปล่อยคาร์บอนคือการนำภาษีคาร์บอนมาใช้ โดยมาตรการนี้จะถูกนำไปใช้กับบริษัทที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนได้ การประเมินความเสี่ยงด้านสภาพอากาศในปัจจุบันกำลังเริ่มที่จะนำตัวชี้วัดความเสี่ยงด้านราคาคาร์บอนมาใช้ในการกำหนดโอกาสเสี่ยงของบริษัทหากพวกเขาไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนภายในปี 2030
“เราเริ่มได้ข่าวมาบ้างว่าราคาคาร์บอนอาจนำไปใช้กับการนำเข้าผ่านภาษีนำเข้าคาร์บอน” Salvatico กล่าว “สิ่งนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ดังนั้น บริษัทต่าง ๆ จึงได้รับแรงกดดันจากหลายทางให้ จัดการกับการปล่อยคาร์บอนอย่างรวดเร็ว แรงกดดันเหล่านี้มาจากผู้มีอำนาจในการดำกับดูแล ดำเนินการผ่านและอาจมาจากแหล่งที่พวกเขาวางขายสินค้า”
บริษัทที่ดำเนินการประเมินเพื่อลดความเสี่ยงด้าน ESG พร้อมกับการดำเนินการลดการปล่อยคาร์บอนอาจได้รับรางวัลตอบแทน Salvatico กล่าว การวัดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญ หลังจากนั้นจะมีการตรวจสอบความสอดคล้องกับความตกลงปารีส ตามขั้นตอนหกขั้นสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของ S&P Global ข้อมูลของ S&P Global บ่งชี้ว่า ปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกสามารถลดภาวะโลกร้อนได้ 3ºC ซึ่งยังต่ำกว่าปริมาณการลดการปล่อยมลพิษที่คาดไว้ 72% เพื่อหยุดภาวะโลกร้อนไม่ให้เกิน 1.5°C
บริษัทที่ปฏิบัติตามความตกลงปารีส “มีศักยภาพในการลงทุนที่ดีขึ้นและสามารถเป็นบริษัทที่ดีขึ้นสำหรับพนักงาน ผู้บริโภค และชุมชน” Salvatico กล่าว “พวกเขาสามารถเข้าถึงตลาดและเงินทุนได้ดีขึ้น ตลอดจนมีผลประกอบการทางการเงินที่ดีขึ้น บริษัทที่เริ่มลงมือทำทันทีจะได้รับประโยชน์จากการเป็นผู้ที่ ปรับตัวก่อน”